เกี่ยวกับเรา

 
คนเรียนเยอะมักไม่ทําอะไร เพราะกลัวไปหมด ผมเองก็เป็น พอเอาเข้าจริงๆ เราไม่กล้า เราติด กรอบทะลุไม่ได้...เราต้องมั่นใจว่า มันสามารถทําได้จริง จึงจะไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการได้

“นวัตกร” คํานี้ถ้าเมื่อก่อน อาจจะมองว่า ห่างไกลกับเรื่องของธุรกิจ เพราะคนที่เป็นนวัตกร มันเป็นสายเนิร์ด (Nerd) วิชาการสูง แต่นวัตกรรุ่นใหม่อย่าง “คุณโอ๊ต – ธนากร ตั้งเมธากุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิซิล กรุ๊ป จํากัด ผู้ ประกอบการรุ่นใหม่ ที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยีของนาโนเทค (ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สู่การพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำยาหรือสารฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียระดับสูงจากซิงค์ ไอออน…เขาคนนี้ มีมุมคิดทางด้านธุรกิจ ไม่แพ้นักธุรกิจใหญ่เลยทีเดียว “คุณโอ๊ต” เป็นเด็กสายวิทย์ จบสัตวแพทย์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ไปเลือกทํางานด้านเซล ในธุรกิจค้าขาย เวชภัณฑ์ยา และอาหารเสริมในสัตว์เลี้ยง จนเติบโตได้โปรโมตเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย แต่ด้วยความคิดที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง และงานการสร้างยอดขายเริ่มไม่ตอบโจทย์ชีวิต ที่ต้องการเป็นนวัตกร คิดค้นอะไรใหม่ๆ มาตอบโจทย์ความเป็นอยู่ของคนยุคปัจจุบัน

เขาเริ่มทําธุรกิจของตัวเองมาตั้งแต่ยังเป็นพนักงานขาย จนประมาณปีที่ 7 ของการเป็นพนักงานองค์กร จึงออกมาบริหารธุรกิจของตัวเองเต็มตัว ด้วยเป้าหมายการสร้าง “บริษัทนวัตกรรมของคนไทย” ที่ประดิษฐ์คิดค้นสินค้าตอบโจทย์ความ ต้องการของคนไทย ที่สามารถขยายตลาดไปเติบโตในต่างประเทศได้ในที่สุด โดยเริ่มต้นจาก 3 ส่วนธุรกิจใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วน ของ Medical Tourism Hotels ที่พักสําหรับชาวต่างชาติที่มาหาหมอในประเทศไทย

ส่วนที่ 2 คือ สปาและเซอร์วิส ที่ร่วมกับโรงเรียนที่สอนเรื่องสปา เป็นเครือข่ายร่วมกับโรงเรียนสร้างงานสร้างอาชีพฟรี ให้คนที่สนใจเข้ามาเรียน และเมื่อเรียนจบก็ต้องหาที่ทํางาน ยูนิซิล กรุ๊ป ก็เข้าไปสนับสนุนในส่วนนั้น และ

ส่วนที่ 3 คือ การนําเข้ายา และอาหารเสริมสัตว์จากต่างประเทศ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ “คุณโอ๊ต” เล่าว่า เป็นการต่อยอดเทคโนโลยีที่รับถ่ายทอดมาจากงานวิจัยของนาโนเทค จากความสนใจในกลุ่มแร่ธาตุที่สามารถฆ่าเชื้อได้ ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง จะต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศและมีราคาสูง เริ่มต้น คือ การทําโครงการวิจัยในปี 2561 ซึ่งเขาได้รับทุนวิจัยโครงการวิจัยมุ่งเป้า(Spearhead) พัฒนานวัตกรรมซิงค์ไอออนสําหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ในที่สุดก็พัฒนาออกมาจนกลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถนําไปฆ่าและป้องกันเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรอัฟริกัน ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 74,600 ล้านบาทในปี 2562 หากไม่มีการป้องกันเชื้อดังกล่าว จะทําให้สุกรเสียชีวิตมากกว่า 50% สร้างผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมหาศาล

นาโนเทคโนโลยีซิงค์ไอออนจากธรรมชาติ คือนวัตกรรมที่มีโอกาสทางการตลาดสูง ประจวบกับช่วงนี้เป็นช่วงที่คนต้องการความสะอาด ต้องการยาฆ่าเชื้อที่ดี เพราะเหตุการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 “คุณโอ๊ต” จึงพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนาโนซิงค์ไอออนมาสู่ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ จนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “เบนไซออน” (Benzion) ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อ ไวรัสและแบคทีเรีย ปัจจุบันขึ้นทะเบียน อย. เครื่องมือแพทย์  

ผู้บริหารและนวัตกรคนนี้ ยังมีแผนนํารายได้จาก “เบนไซออน” ไปพัฒนาค้นคิดนวัตกรรมอื่นๆ ต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้มีโปรเจ็กต์ยักษ์แล้ว 3-4 โปรเจ็กต์ทั้ง “สารสกัดธรรมชาติ การทําหมันในสัตว์เลี้ยง” รวมไปถึง ตัวทดแทนยาปฏิชีวนะในสัตว์ ตัวทดแทนยาปฏิชีวนะในกุ้ง และการต่อยอดจากเบนไซออน มาสู่ทิชชูยา หรือสเปรย์พ่นละออง และยังมีแผนย้ายฐานการผลิตไปที่จีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุดิบพร้อมสําหรับการพัฒนาและผลิตนวัตกรรมที่ตั้งเป้าไว้

หากแต่เป้าหมายของ “นวัตกร” คนนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่โปรดักต์ตัวใดตัวหนึ่ง เป้าหมายที่ใหญ่ไปกว่านั้น คือ การเป็นส่วนหนึ่ง ในผู้สร้างอีโคซิสเต็มให้กับรรดาสตาร์ตอัพ หรือเอสเอ็มอี ที่ต้องการคิดค้นวิจัยนวัตกรรมที่มีประโยชน์โดยการสร้างโรงงานและแล็บเลเวล 4 (lab biohazard Iv4) ซึ่งใช้สําหรับการศึกษาวิจัยโรคระบาดรุนแรง อาทิ อีโบล่า หรือ โควิด-19 ที่ทั่วโลก กําลังเผชิญอยู่

“คุณโอ๊ต” บอกว่า การคิดและบริหารธุรกิจในมุมของนวัตกร หากยึดติดอยู่กับหลักการ เขาคงไม่สามารถเดินมาถึงจุดนี้ได้ การที่นักวิทยาศาสตร์อย่างเขา จะก้าวเข้ามาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสําเร็จ คือ การอยู่เหนือเหตุผล ต้องทะลุกรอบความ คิด…จากคําที่ว่า ยิ่งเรียนมาก ยิ่งกลัวมาก คนเรียนเยอะมักไม่ทําอะไร เพราะกลัวไปหมด ผมเองก็เป็น พอเอาจริงๆ เราไม่ กล้า เราติดกรอบ ทะลุไม่ได้…เราต้องอยู่เหนือเหตุผล มั่นใจว่า สิ่งที่เราคิด มันสามารถทําได้จริง…นั่นแหละ ทุกอย่างจึงจะเดินหน้า และพุ่งสู่ความสําเร็จตามเป้าหมาย  

Credit นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 หน้า 28 ฉบับที่ 3,570 
 
 
Visitors: 5,070